สายตา เป็นหนึ่งในประสาทสัมผัสที่สำคัญที่สุดของมนุษย์ แต่เมื่ออายุมากขึ้น หลายคนกลับพบว่าตัวเองต้องถือหนังสือหรือโทรศัพท์ให้ห่างออกไปเพื่อมองเห็นได้ชัดขึ้น อาการเช่นนี้เป็นสัญญาณของ “สายตายาวตามอายุ” หรือ “ภาวะสายตายาว” (Presbyopia) ซึ่งเกิดจากการเสื่อมสภาพของดวงตาตามธรรมชาติ ส่วนความสงสัยที่ว่าสายตายาวมีอาการอย่างไร ? ทำไมอาการนี้ถึงพบได้บ่อยขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น ? และมีวิธีป้องกันหรือรักษาหรือไม่ ? มาหาคำตอบกันในบทความนี้
สายตายาวคืออะไร ?
สายตายาว คือ ภาวะที่แสงซึ่งเข้าสู่ดวงตาโฟกัสผิดตำแหน่ง โดยจุดโฟกัสของภาพไปตกอยู่ด้านหลังจอประสาทตา แทนที่จะตกตรงจอประสาทตาพอดี ผลที่ตามมาคือ มองเห็นวัตถุระยะใกล้ได้ไม่ชัดเจน ในขณะที่มองวัตถุระยะไกลได้ชัดกว่า
ในดวงตาปกติ แสงจะหักเหผ่านกระจกตาและเลนส์ตาแล้วโฟกัสพอดีที่จอประสาทตา ทำให้เห็นภาพชัดเจนทั้งระยะใกล้และไกล แต่สำหรับคนสายตายาว เมื่อมองวัตถุใกล้ ๆ แสงจะไปตกที่ด้านหลังจอประสาทตา (หรือเรียกว่า Retina) ส่งผลให้มองเห็นภาพเบลอหรือไม่ชัดเจน และต้องใช้ความพยายามในการเพ่ง ยิ่งเพ่งนานขึ้นทำให้กล้ามเนื้อตาทำงานหนัก ทำให้ปวดหัวคล้ายไมเกรนได้
สายตายาวเกิดจากอะไร ?
สายตายาวเกิดจากอะไร ? การที่จะตอบคำถามนี้ได้อย่างครอบคลุม ก่อนอื่น เราต้องแบ่งสาเหตุการเกิดอาการออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้
1. สายตายาวแต่กำเนิด (Hyperopia)
สายตายาวแต่กำเนิดมักมีสาเหตุ ดังนี้
ปัจจัยทางพันธุกรรม หากพ่อแม่มีภาวะสายตายาว ลูกก็มีโอกาสที่จะมีภาวะนี้สูงขึ้น เนื่องจากยีนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาของดวงตายังมีผลต่อการกำหนดลักษณะความยาวของลูกตาด้วย
ความผิดปกติของรูปทรงลูกตา ลูกตาที่สั้นกว่าปกติ (ระยะจากกระจกตาไปยังจอประสาทตาน้อยกว่าปกติ) เป็นสาเหตุหลักของสายตายาว เพราะทำให้แสงที่เข้ามาไม่สามารถโฟกัสได้ทันที่จอประสาทตา
ความโค้งของกระจกตาผิดปกติ กระจกตาที่แบนเกินไปทำให้แสงหักเหได้น้อยกว่าที่ควร ส่งผลให้จุดโฟกัสอยู่หลังจอประสาทตา
ความผิดปกติของเลนส์ตา เลนส์ตาที่มีความโค้งน้อย หรือความหนาไม่เหมาะสม ทำให้แสงหักเหไม่เพียงพอต่อการโฟกัสที่จอประสาทตา
2. สายตายาวตามวัย (Presbyopia)
สายตายาวตามวัย คือ ภาวะที่พบได้เกือบทุกคนเมื่ออายุมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่วัย 40 ปีขึ้นไป สาเหตุหลัก ๆ เช่น
ความเสื่อมของเลนส์ตา เมื่ออายุมากขึ้น เลนส์ตาจะค่อย ๆ แข็งตัว สูญเสียความยืดหยุ่น ทำให้ความสามารถในการเปลี่ยนรูปร่างเพื่อปรับโฟกัสลดลง
การเปลี่ยนแปลงของโปรตีนในเลนส์ตาโปรตีนในเลนส์ตาจะเกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ทำให้เลนส์ตาหนาขึ้นและแข็งขึ้น ส่งผลให้ความสามารถในการหักเหแสงลดลง
การเสื่อมของกล้ามเนื้อซิลิอารี (Ciliary Muscles) กล้ามเนื้อที่ช่วยในการปรับเปลี่ยนความโค้งของเลนส์ตาเริ่มอ่อนแรงลง ทำให้การควบคุมการโฟกัสระยะใกล้ทำได้ยากขึ้น
- สายตายาวตามวัย เป็นกระบวนการเสื่อมตามธรรมชาติที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แม้แต่คนที่ไม่เคยมีปัญหาสายตามาก่อน หรือแม้กระทั่งคนที่เป็นสายตาสั้นก็ยังสามารถเกิดภาวะสายตายาวตามวัยได้เช่นกัน
เช็กลิสต์สำรวจตัวเองว่าคุณมีอาการของสายตายาวตามอายุหรือไม่ ?
ลองสำรวจตัวเองดูว่ากำลังประสบภาวะสายตายาวและมีอาการตามเช็กลิสต์ด้านล่างนี้หรือไม่
มองวัตถุใกล้ไม่ชัด ต้องยื่นออกไปไกลจึงจะอ่านได้ ตัวหนังสือใกล้ ๆ เริ่มพร่า ไม่ชัดเจน ต้องถอยหนังสือหรือมือถือให้ห่างจากตาอยู่เสมอ
รู้สึกปวดตาหรือปวดหัวหลังใช้งานสายตาระยะใกล้นาน ๆ โดยเฉพาะหลังอ่านหนังสือ หรือทำงานหน้าจอเป็นเวลานาน อาการปวดล้าตามากขึ้นกว่าที่เคย
ต้องเพ่งหรือขมวดคิ้วขณะอ่านหนังสือหรือดูสิ่งของใกล้ตัว รู้สึกต้อง “พยายาม” มองให้ชัด หรือขมวดคิ้วโดยไม่รู้ตัวทุกครั้งที่ใช้สายตาระยะใกล้
รู้สึกเหนื่อยตาหรือง่วงง่ายเวลาอ่านอะไรนาน ๆ อาการนี้อาจคล้ายกับภาวะล้าตา แต่เป็นหนึ่งในสัญญาณที่พบบ่อยของสายตายาว โดยเฉพาะเมื่อต้องใช้สายตาเพ่งสิ่งใกล้เป็นระยะเวลานาน
ถ้ามีอาการตรงกับข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อในรายการนี้ ควรเข้ารับการตรวจสายตากับจักษุแพทย์หรือนักทัศนมาตร (Optometrist) เพราะการวินิจฉัยที่รวดเร็วจะช่วยให้การรักษาและการแก้ไขปัญหาทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วิธีป้องกันและแนวทางการรักษาสายตายาว
แม้ภาวะสายตายาวจะมีอาการที่รบกวนชีวิตประจำวัน และเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเสื่อมสภาพตามวัย ทว่า ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบัน เราสามารถรับมือได้ด้วยวิธีการที่เหมาะสม เพื่อช่วยให้การมองเห็นดีขึ้น ใช้ชีวิตได้อย่างสะดวกสบาย
การใช้แว่นตา
แว่นสายตาสำหรับผู้ที่มีสายตายาวถือเป็นวิธีแก้ไขพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพ โดยเลนส์สำหรับสายตายาวจะช่วยปรับทิศทางการหักเหของแสงให้โฟกัสตกตรงบนจอประสาทตา ช่วยให้การมองวัตถุระยะใกล้กลับมาชัดเจนอีกครั้ง
โดยสำหรับผู้ที่มีสายตายาวตามวัยและต้องการมองเห็นได้ทุกระยะในชีวิตประจำวัน เลนส์โปรเกรสซีฟ (Progressive Lenses) ถือเป็นตัวเลือกที่เหมาะสม เพราะมีการออกแบบให้ครอบคลุมระยะมองใกล้ ระยะกลาง และระยะไกลในเลนส์เดียวโดยไม่มีรอยต่อ ซึ่งช่วยให้การมองเห็นเป็นธรรมชาติและดูไม่เหมือนแว่นสองชั้นแบบเดิม
การใช้คอนแทคเลนส์
คอนแทคเลนส์ชนิดสำหรับสายตายาว หรือแบบมัลติโฟกัส ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ไม่สะดวกใส่แว่น โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่ต้องการความคล่องตัว เช่น ออกกำลังกาย หรือทำงานภาคสนาม
การทำเลสิก หรือผ่าตัดแก้ไขสายตา
สำหรับผู้ที่ต้องการลดการพึ่งพาแว่นหรือคอนแทคเลนส์ การผ่าตัดด้วยเลเซอร์ เช่น LASIK หรือการเปลี่ยนเลนส์แก้วตาเทียม (Refractive Lens Exchange) อาจเป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์ อย่างไรก็ตาม ต้องพิจารณาร่วมกับจักษุแพทย์อย่างรอบคอบก่อนเข้ารับการรักษา
เมื่อได้ทราบแล้วว่าสายตายาวเป็นยังไง เกิดจากอะไร และมีแนวทางการรักษาอย่างไร ดังนั้น ถ้าคุณเริ่มรู้สึกว่าการอ่านหนังสือหรือใช้งานโทรศัพท์เป็นเรื่องยากขึ้น ต้องถือออกห่างเพื่อให้มองเห็นชัด หรือมีอาการปวดตาหลังจากเพ่งมองระยะใกล้เป็นเวลานาน อาจถึงเวลาที่ต้องพิจารณาทางเลือกที่ช่วยให้การมองเห็นของคุณกลับมาคมชัดและสบายตามากขึ้น
เลนส์โปรเกรสซีฟจาก Rodenstock และ zeiss คือโซลูชันที่ตอบโจทย์ ด้วยเทคโนโลยีล้ำสมัยที่ช่วยให้คุณมองเห็นได้ชัดเจนในทุกระยะ โดยไม่มีเส้นแบ่งรอยต่อแบบเลนส์สองชั้น ไม่ว่าคุณจะอ่านหนังสือ ใช้คอมพิวเตอร์ หรือมองไกล ก็ราบรื่นและเป็นธรรมชาติที่สุด และที่ ASPEC เราให้บริการตรวจวัดสายตาอย่างแม่นยำและตัดแว่นโปรเกรสซีฟด้วยมาตรฐานระดับโลก มั่นใจได้ว่าคุณจะได้รับประสบการณ์การมองเห็นที่ดีที่สุด สนใจรับคำปรึกษาหรือจองคิวตรวจวัดสายตา เข้ามาได้ที่ ASPEC ศูนย์การค้า THE CRYSTAL เอกมัย-รามอินทรา ชั้น 1 โซน VERANDA เปิดบริการทุกวัน เวลา 11.00-20.00 น. โทร. 098-019-4941
ข้อมูลอ้างอิง
- What Is Presbyopia?. สืบค้นเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2568 จาก https://www.aao.org/eye-health/diseases/what-is-presbyopia